คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

SHOUT BOX

etvthai

วันศุกร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2553

กิจกรรม 12-16 ก.ค. 53 สืบค้นข้อมูล

คลื่นกล

คลื่นกล mechanical wave
คลื่นที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ ได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นน้ำ คลื่นในเส้นเชือก ฯลฯ คลื่นพวกนี้สามารถถ่ายทอดพลังงานและโมเมนตัม โดยอาศัยความยืดหยุ่นของตัวกลางถ้าอุณหภูมิคงตัว อัตราเร็วของคลื่นกลจะมีค่าเท่ากันในตัวกลางชนิดเดียวกัน
คลื่นดิน ground wave
เป็นคลื่นวิทยุที่ส่งจากสถานีส่งกระจายเสียงไปถึงเครื่องรับวิทยุโดยตรงในแนวระดับสายตา


ที่มา

http://gotoknow.org/blog/krugreen/301805



ธรรมชาติของคลื่น (The nature of a wave)

คลื่นและการเคลื่อนที่คล้ายคลื่น (Waves and wave-like motion)
คลื่นมีอยู่ทุก ๆ ที่ ไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ในชีวิตประจำวันเราได้พบเจอคลื่นต่าง ๆ มากมาย เช่น คลื่นเสียง, คลื่นแสง, คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ, คลื่นน้ำ เป็นต้น การศึกษาเรื่องคลื่นทำให้เราสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุบางประเภทที่มีลักษณะคล้ายกับคลื่น เช่น การเคลื่อนที่ของลูกตุ้มนาฬิกา การเคลื่อนที่ของมวลที่แขวนไว้กับสปริง เป็นต้น


ที่มา

http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/wave5/natural/natural.html



คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

เป็นคลื่นชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ
คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคือเป็นคลื่นที่เกิดจากคลื่นไฟฟ้าและคลื่นแม่เหล็กตั้งฉากกันและเคลื่อนที่ไปยังทิศทางเดียวกัน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็ว 299,792,458 m/s หรือเทียบเท่ากับความเร็วแสง


ที่มา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2



การเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เมื่อประจุไฟฟ้า บวกและลบเกิดการสั่นแบบซิมเปิลฮาร์มอนิก จะทำให้เกิดเส้นแรงไฟฟ้าขึ้นระหว่างประจุทั้งสอง

ที่มา

http://www.pt.ac.th/ptweb/prajead/electric/EM_wave/images/emf.htm



คุณสมบัติของเสียง

1. คุณสมบัติของเสียงขับร้องของมนุษย์
ในธรรมชาติเสียงของมนุษย์สามารถปรับระดับเสียงสูง-ต่ำได้ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเสียงดนตรี จึงถือว่าเสียงมนุษย์เป็นเสียงดนตรีชนิดหนึ่ง ซึ่งมนุษย์ได้พัฒนาการปรับเสียงสูง-ต่ำ จนกลายเป็นเสียงขับร้องที่ไพเราะได้ โดยเริ่มจากการสวดมนต์ การขอพรจากเทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การขับลำนำ การอ่านคำประพันธ์ การขับเสภา ตามลำดับจนเป็นการขับร้องประเภทต่าง ๆ ในที่สุด นอกจากนี้ เสียงของมนุษย์ยังมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งแตกต่างกันไปตามเพศและวัยอีกด้วย เช่น เสียงเด็กและผู้หญิงมักจะเสียงเล็กแหลม เสียงผู้ชายจะมีเสียงทุ้มใหญ่ เป็นต้น
2. คุณสมบัติของเสียงดนตรี
เสียงดนตรีเป็นเสียงที่มีระดับเสียงสูง-ต่ำ เหมือนกับเสียงของมนุษย์ แต่จะเป็นระบบมากกว่า ซึ่งมีพัฒนาการมาจากการขับลำนำ และการบรรเลงเครื่องดนตรีประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และความเชื่อต่อมามีการพัฒนาเครื่องดนตรีและวิธีการบรรเลงดนตรีได้หลากหลายวิธี ทำให้เสียงดนตรีมีระดับสูง-ต่ำมากขึ้นและมีลักษณะของเสียงเพิ่มขึ้นหลายเสียง


ที่มา

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2714



การเกิดเสียง

http://allaboutnoise.blogspot.com/2008/03/blog-post_6322.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น